ลูกค้าบุคคล > LH Bank Advisory > Weekly Report > Wealth Weekly Report 19-02-2024

Wealth Weekly Report 19-02-2024
 

Stay invested
  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง หลังรายงานเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด เนื่องจากเงินเฟ้อหมวดที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 0.6%MoM ทำให้ตลาดกังวลว่าเฟดอาจจะไม่ปรับลดดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. ตามที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อในสินค้าหลายๆ หมวดยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลง อีกทั้งยังไม่พบปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน ทางเรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ และมองเป็นจังหวะในการเข้าทยอยสะสม โดยกองทุนที่เราแนะนำคือ LHUS ซึ่งเสนอขาย IPO ในวันที่ 19 – 27 ก.พ. นี้
  • LH Bank Advisory แนะนำนักลงทุนที่ต้องการจับจังหวะตามจาก Momentum ที่สดใสนี้ ด้วยมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวัง หรือ Cautiously Optimistic โดยตลาดที่กำลังทำ All Time High หากเผชิญกับความผิดหวัง สร้างความเสี่ยงให้เกิดแรงขายที่รุนแรง กองทุนเปิดวรรณ อัลตร้า อินคัม พลัส ฟันด์ ซึ่งกองทุนใช้กลยุทธ์ Aggressive Allocation ที่กระจายการลงทุนทั่วโลก และให้ความคุ้มครองประกันสุขภาพและชีวิตถือเป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ดังกล่าว
  • ตลาดหุ้นจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวในระยะสั้น (Bear Market Rally) เนื่องจากแรงกดดันจากการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนในจีนเริ่มผ่อนคลายลง และดัชนีชี้นำตลาดมีแนวโน้มแข็งแกร่ง สะท้อนเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวในอนาคต อีกทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีขึ้น ประกอบกับข้อมูลในปีที่ผ่านมาพบว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน มักส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นราว 6% - 10% อย่างไรก็ตามยังไม่พบสัญญาณฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จีน

 

TOPIC FOCUS

After US CPI Exceeds Expectations - Stay invested?

  ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง หลังสหรัฐฯ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ส่งผลให้ Bond Yield พุ่งขึ้น เนื่องจากตลาดกังวลว่าเฟดอาจจะไม่ปรับลดดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. ตามที่คาดไว้ หลังจากที่ ดัชนี S&P 500 เพิ่งปิดเหนือระดับ 5,000 จุดเป็นครั้งแรก จากแรงหนุนหุ้นกลุ่ม Mega cap ทาง LH Bank Advisory ได้ประเมินมุมมองต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดังนี้

• ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) ในเดือนม.ค. อยู่ที่ 3.1%YoY ชะลอลงจาก 3.4%YoY ในเดือนธ.ค. แต่สูงกว่าทึ่ตลาดคาดที่ 2.9%YoY ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ 3.9%YoY สูงกว่าทึ่ตลาดคาดที่ 3.7%YoY โดยสาเหตุหลักมาจากเงินเฟ้อหมวดราคาที่อยู่อาศัย (Shelter) ที่มีน้ำหนัก 1 ใน 3 ของตะกร้าคำนวณ CPI เพิ่มขึ้น 0.6%MoM และหมวดบริการขนส่ง (Transportation Services) เพิ่มขึ้น 1%MoM ในเดือนม.ค. จาก 0.1%MoM ในเดือนก่อนหน้า
• อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อในสินค้า (Goods Inflation) หลายๆ หมวดยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลง อีกทั้งยังไม่พบปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน และแม้เงินเฟ้อหมวดที่อยู่อาศัยที่มีผลกระทบที่ล่าช้า (Lag effect) จะเพิ่มขึ้น 0.6%MoM เนื่องจากอุปสงค์ที่อยู่อาศัยที่มากขึ้นตามจำนวนคนเข้าเมือง (Immigration) แต่ชะลอลงเล็กน้อยจาก 6.2%YoY ในเดือนธ.ค. สู่ระดับ 6.1%YoY ในเดือนม.ค.
• จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่แข็งแกร่งทำให้ตลาดกังวลว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดนั้น ทั้งนี้หากพิจารณาตัวเลข Full Time Employment เฉลี่ย 3 เดือน (3-month annualized rate) ได้ปรับตัวลง 3.6% สะท้อนสัญญาณความอ่อนแอของตลาดแรงงาน ประกอบกับทิศทางเงินเฟ้อที่แม้จะสูงกว่าคาดแต่ยังอยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวลง จึงคาดว่าเฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยได้ในช่วงกลางปี เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อระบบเศรษฐกิจ
• หุ้น Magnificent 7 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของดัชนี S&P500 แม้ว่าจะมี Forward P/E ratio อยู่ที่ระดับ 35.7 เท่า ซึ่งสูงกว่าดัชนี S&P500 ที่ซื้อขายกันที่ Forward PE 20.5 เท่า แต่เมื่อพิจารณาจาก Price/Earnings to Growth Ratio (PEG) พบว่า PEG ของหุ้นรายตัว อย่าง Nvidia มีค่าเพียง 1.2 เท่า บ่งชี้ว่า Valuation ของ Nvidia ยังคงน่าสนใจ เมื่อเทียบกับความสามารถในการเพิ่มอัตรากำไรจากการดำเนินงาน แม้ว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นเกือบ 240% ในปี 2023 ก็ตาม

  ทาง LH Bank Advisory ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตัวเลขดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ในเดือนม.ค. คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3%MoM และค่าเฉลี่ย 3 เดือน (3-month annualized rate) เข้าใกล้เป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ดังนั้นทางเรามองเป็นจังหวะในการเข้าทยอยสะสม โดยกองทุนที่เราแนะนำคือ กองทุนเปิด แอล เอช ยูเอส อิควิตี้ (LHUS) ซึ่งเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 19 – 27 ก.พ. นี้ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีลักษณะเป็น Fund of Funds ที่มีนโยบายลงทุนใน Baillie Gifford US Growth Fund และ Artificial Intelligence & Technology ETF (AIQ) เป็นกองทุนที่รวมธีมการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Growth ในสหรัฐฯ และลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของธุรกิจ AI

Cautiously Optimistic ลงทุนต่อไป ในความไม่ประมาท

   บรรยากาศการลงทุนยังคงสดใสซึ่งนำทีมมาด้วยกลุ่ม Magnificent 7 ผลักให้ S&P 500 ปิดเหนือ 5,000 จุด และพาMomentum ตลาดหุ้นของประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (DM) ทยอยปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ (All Time High) ด้วยกระแสของเทคโนโลยี AI ทั้งนี้ทาง Bloomberg ประมาณการเติบโตรายได้ล่วงหน้าของกลุ่ม Magnificent 7 จะเติบโตในอีก 2 ปีข้างหน้าเฉลี่ยปีละ 10%  ขณะเดียวกันความพยายามปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นแม้มีปัจจัยกดดันจากการเลื่อนปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯออกไปล่าช้ากว่าที่เคยคาดหวังนั้น ถือเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าตลาดในเวลานี้ให้น้ำหนักมุมมองในเชิงบวก (Optimistic) สะท้อนไปที่มูลค่า P/E ของตลาดปัจจุบันในแต่ละประเทศปรับตัวสูงกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปี

  ทั้งนี้ทาง LH Bank Advisory แนะนำนักลงทุนที่ต้องการจับจังหวะตามจาก Momentum ที่สดใสนี้ ด้วยมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวัง หรือ Cautiously Optimistic โดยนักลงทุนต้องคำนึงถึงอารมณ์ของตลาดที่กำลังทำ All Time High หากเผชิญกับความผิดหวัง หรือข่าวร้ายจะสร้างความเสี่ยงให้เกิดแรงขายที่รุนแรงได้ฉับพลัน ทั้งนี้หากพิจารณาที่ Earning Yield กับผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐฯ10 ปี จะพบว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) มีค่า Earning yield Gap ติดลบ 0.02 ซึ่งสะท้อนว่ามูลค่าตลาดมีความแพง เพราะหมายถึง Earning Yield ของตลาดหุ้นอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับดอกเบี้ย  ขณะที่ตลาดในภูมิภาคอื่นยังมีความน่าสนใจ ดังนั้นการเลือกกลยุทธ์กระจายพอร์ตการลงทุนไปสินทรัพย์ทุนทั่วโลก แบบ Aggressive Allocation ถือเป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ดังกล่าว

  กองทุนแนะนำ กองทุนเปิดวรรณ อัลตร้า อินคัม พลัส ฟันด์ หน่วยลงทุนชนิดไม่จ่ายเงินปันผล (ONE-ULTRAPLUS) ซึ่งใช้ไอเดียการลงทุนจากเงินก้อนเดียวลงทุนได้ทั้งชีวิต สุขภาพ และความมั่งคั่ง กองทุนนี้ถือเป็นนวัตกรรมการเงินให้นักลงทุนได้ลงทุนผ่านกลยุทธ์กองทุนแบบ Aggressive Allocation ที่กระจายการลงทุนทั่วโลก แบ่งเป็น หุ้นต่างประเทศ 60% หุ้นไทย 10% ตราสารหนี้ไทย 20% และสินทรัพย์ทางเลือก 10% และผู้ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 4,500 หน่วยขึ้นไป ได้รับความคุ้มครองประกันสุขภาพและชีวิตกับทางบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ทำให้ในกรณีที่ราคาหน่วยลงทุนปรับตัวลงก็ไม่ส่งผลต่อความคุ้มครองตามกรมธรรม์*

  ทั้งนี้ในพอร์ตการลงทุน ONE-ULTRAPLUS สัดส่วนมากสุด 22% อยู่ในกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่มีขนาดใหญ่ อย่าง Magnificent 7 และ ETF ของตลาดหุ้นขนาดใหญ่ทั่วโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนคาดหวังจากส่วนต่างราคา ตามจังหวะตลาดที่กำลัง Optimistic ในเวลานี้ ขณะที่จุดเด่นของการจัดพอร์ต Asset Allocation คือมีสัดส่วนลงทุนในสินทรัพย์การลงทุนอื่น เพื่อพร้อมรับมือความผันผวนของผลตอบแทน และลดความเสี่ยงตลาดขาลง (Downside) ผ่านการถือครองพันธบัตรรัฐบาลไทย และสินทรัพย์ทางเลือก อย่าง ทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนในยามเศรษฐกิจถดถอย (Recession Proof) ขณะที่ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ตอบโจทย์กับความเสี่ยงที่กดดันเศรษฐกิจโลกในปีนี้ เช่น ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความเสี่ยงเงินเฟ้อในระดับสูง และวิกฤตเศรษฐกิจ 

Bear Market Rally in China Stocks

จากการจัดระเบียบสังคมจีนครั้งใหญ่ ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ส่งผลให้เกิดแรงกดดันในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นเหตุให้นักลงทุนกังวลว่าความเสี่ยงจะขยายตัวเป็นวงกว้าง ดังนั้นนักลงทุนจึงย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ เศรษฐกิจจีนจึงเข้าสู่ภาวะเงินฝืด โดยตลาดหุ้นจีน (MSCI China) ปรับตัวลงกว่า 60% ตั้งแต่ปี 2021 ราคาเทียบเท่ากับเมื่อปี 2013 ในขณะที่ Forward PE อยู่ในระดับ 9.7 เท่า ถูกกว่าค่าเฉลี่ยที่ 12.1 เท่า อย่างไรก็ตามในขณะนี้พบสัญญาณฟื้นตัวของหุ้นจีนดังนี้

  • แรงกดดันจากการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนในจีนผ่อนคลายลง จาก Credit Default Swap (CDS) ปรับตัวลง 0.15% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา อีกทั้งเมื่อเทียบในปี 2015 ที่จีนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ พบว่า CDS ในช่วงนี้ต่ำกว่า 10% อีกทั้ง NPL ของธนาคารในจีนปรับลดลงที่ระดับ 1.61% ซึ่งลดลงจากปี 2020 ที่ระดับ 1.86% ซึ่งทาง PBoC ตอบสนองเชิงนโยบายโดยการลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) บ่งชี้แรงกดดันด้านการผิดนัดชำระหนี้ค่อนข้างผ่อนคลาย
  • ดัชนีชี้นำตลาดมีแนวโน้มฟื้นตัว สะท้อนเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวในอนาคต จากตัวเลข PMI ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ อยู่เหนือระดับ 50 จุด เป็นเวลา 13 เดือนติดต่อกัน พร้อมกับคำสั่งซื้อสินค้าใหม่มีแนวโน้มฟื้นตัวที่ระดับ 49 จุด ในเดือน ม.ค. จาก 48.7 จุด ในเดือน ธ.ค. 23 ส่งผลให้กลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มฟื้นตัวได้
  • ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีขึ้น รับการท่องเที่ยวช่วงตรุษจีน จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ มากกว่า 190 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 2.8 เท่าจากปี 2023 อีกทั้งการจองโรงแรมในกรุงปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, กวางโจว, และเซินเจิ้นในช่วงสองวันแรกของวันหยุดเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับปี 2023 สะท้อนชาวจีนมีกำลังในการจับจ่ายใช้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้คาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีขึ้น จากคาดการณ์ Earnings ของ MSCI China All Share ในปีนี้เพิ่มขึ้น 21% กลับไปสู่ระดับเดียวกันในปี 2021 บ่งชี้ในปีนี้เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้
  • การกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่ผ่านมา มักส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นราว 6% - 10% ตาม Figure 5 ช่วงที่รัฐบาลจีนประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย RRR ลง 0.25% ส่งผลให้ MSCI China ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% หรือในช่วงการประชุมนโยบายเศรษฐกิจของคณะกรรมการกรมการเมืองแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Politburo) (24 ก.ค. 23) ที่ประชุมได้ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพและปรับนโยบายภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งยังให้คำมั่นว่าจะกระตุ้นอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ และจะอุดหนุนตลาดหุ้นจีน ส่งผลให้ MSCI China ปรับตัวขึ้น 8% ดังนั้นในครั้งนี้ที่มีมาตรการทั้งห้าม Short Sell และมีกองทุนใหญ่ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นจีนนั้น ทางเราประเมินว่าจะเป็นสัญญาณให้ตลาดหุ้นจีนมีโอกาสฟื้นตัวกลับมา

อย่างไรก็ตามจากตัวเลขราคาบ้านของจีนปรับตัวลง 0.4%MoM ในเดือนธ.ค. อีกทั้งยอดขายบ้านใหม่ลดลง 1%YoY ในเดือน
ธ.ค. 23 สะท้อนว่ายังไม่พบสัญญาณฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จีน ดังนั้นเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับจะมีตราสารหนี้ High Yield ที่จะครบกำหนดในปี 2024 – 2025 ประมาณ 37 พันล้านดอลลาร์

Weekly Report 19-02-2024

ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง