Executive Summary “ยุโรป” เข้าสู่ยุครุ่งโรจน์
กองทุน LH Global Investment Grade Opportunity (LHGIGO) ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูงทั่วโลก โดยเฉพาะยุโรปและอังกฤษในสัดส่วนรวมกันกว่า 67% ด้วยกลยุทธ์การบริหารแบบไดนามิกไม่ยึดติดดัชนีชี้นำ สามารถเลือกตราสารหนี้เอกชนโดยลงไปถึงระดับ Bottom Line เพื่อตามหาของดีราคาเหมาะสม เพื่อสร้างผลตอบแทนเหนือดัชนีอ้างอิง ดังนั้นจากสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความเสี่ยงเชิงโครงสร้างในเศรษฐกิจสหรัฐฯ “ยุโรป” ได้กลายเป็นศูนย์กลางใหม่ของความเชื่อมั่นทางการเงิน ซึ่งสะท้อนผ่านกระแสเงินทุน การเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตร และค่าเงินกองทุน LHGIGO จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันก็เปิดรับโอกาสจากการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูงของยุโรปในจังหวะที่เหมาะสม ยุโรปกำลังเปิดเกมรุกการลงทุนคล้ายคลึงกับรูปแบบที่สหรัฐฯ เคยดำเนินการในอดีตจนดัชนีหุ้นทำ New high หลายครั้งใน สองปีที่ผ่านมา การลงทุนภาครัฐเชิงรุก: Debt Brake การปลดล็อกนโยบายการคลังครั้งใหม่ของยุโรป หากย้อนดูในอดีต เราจะเห็นว่ารัฐบาลหลายประเทศอัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ “เลือกเจาะจงอุตสาหกรรม” โดยอุตสาหกรรมนั้นมีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนประเทศ และสร้างความได้เปรียบแก่ประเทศนั้นให้กลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมนั้นในระดับโลก ตัวอย่าง Case study น่าสนใจ คือ “CHIPS and Science Act” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “CHIPS Act” ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจสำคัญของรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ การวิจัยและพัฒนา และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ งบประมาณรวมภายใต้ CHIPS Act สูงถึง 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.08% ของ GDP สหรัฐฯ ในปี 2022 ผลที่ตามมาคือ การเร่งลงทุนในโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ การดึงดูดเม็ดเงินจากภาคเอกชน และการไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหุ้นและตราสารหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ เช่น NVIDIA และกลุ่ม “Magnificent 7” ซึ่งได้รับแรงหนุนอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2022 และจนถึงปัจจุบัน หุ้นเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงเติบโตต่อเนื่องจากผลพวงของนโยบายดังกล่าว ในปัจจุบัน ตลาดการลงทุนเริ่มจับตาว่า ยกเลิกมาตรการ Debt Brake ของเยอรมนีที่ประกาศ 31 มีนาคม 2025 มีโอกาสส่งผลให้ตลาดเติบโต คล้าย CHIPS Act. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซึ่งเดิมที่เยอรมนีจำกัดการขาดดุลงบประมาณไว้ไม่เกิน 0.35% ของ GDP ต่อปี พร้อมเสนอการปฏิรูปนโยบายการคลังครั้งใหญ่เพื่อเปิดทางให้รัฐลงทุนเชิงรุกมากขึ้น รายละเอียดของนโยบายใหม่นี้ ได้แก่:
การดำเนินนโยบายนี้คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวได้ราว 2.25% ภายในปี 2026 และส่งผลบวกต่อยูโรโซนโดยรวมผ่านแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐ หรือ “Fiscal Impulse” อีกมิติหนึ่ง เยอรมนีได้ผลักดันให้ประเทศสมาชิก NATO เพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมให้แตะระดับ 5% ของ GDP ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่ออุตสาหกรรมกลาโหมและการบินอวกาศ ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันสัดส่วนงบกลาโหมต่อ GDP ของแต่ละประเทศจะอยู่ที่เพียง 0.4–1.7% แต่ยังมีศักยภาพในการขยายตัวได้อีกมาก ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมเทคโนโลยี (ทั้ง Technology และ Telecom) ซึ่งมีสัดส่วน 5–8% ของ GDP กำลังได้รับแรงสนับสนุนในลักษณะคล้ายกับช่วงที่สหรัฐฯ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน CHIPS Act โดยมีแนวโน้มได้รับอานิสงส์จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยังสะท้อนผ่านการปรับเพิ่มประมาณการกำไรของตลาดหุ้น โดยดัชนี STOXX 600 Europe ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่ DAX ของเยอรมนี ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสูงถึง 17.4% และเมื่อเทียบกับมูลค่า P/E ยังคงถูกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามที่แสดงใน Figure ที่ 1
หากเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ การเติบโตของยูโรโซนในปี 2025–2026 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.8% และ 1.3% ตามลำดับ โดยได้แรงหนุนจากการบริโภค การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐของเยอรมนี ซึ่งส่งผลบวกต่อประเทศอื่นในภูมิภาค แม้จะยังเผชิญแรงกดดันจากมาตรการภาษีการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ในทางตรงกันข้าม “One Big Beautiful Bill Act” (OBBBA) ของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งเป็นนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล เสนอให้ขยายเพดานหนี้อีก 4 ล้านล้านดอลลาร์ภายใน 10 ปี จากระดับเดิมที่ 36.1 ล้านล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวไม่ได้ช่วยปรับมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้ดีขึ้นนัก เนื่องจากยังมีความกังวลต่อท่าทีด้านภาษีการค้าและนโยบายสุดโต่งของทรัมป์ที่อาจสร้างความเสียหายในระยะยาว ขณะที่ภาระหนี้ที่สูงขึ้นอาจกลายเป็นข้อจำกัดต่อในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการคลังในอนาคต ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มการเติบโตของสหรัฐฯ และยุโรปในช่วง 2 ปีข้างหน้าจึงเคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยยุโรปแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางการคลังที่เหนือกว่าอย่างชัดเจน ข้อมูลไตรมาส 3 ปี 2024 ระบุว่า หนี้สาธารณะของยูโรโซนอยู่ที่ 88.2% ต่อ GDP เยอรมนีอยู่ที่ 62.4% ขณะที่สหรัฐฯ สูงถึง 123.1% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกจาก OBBBA
ECB กับความได้เปรียบเชิงนโยบาย มีความพร้อมรับกับวิกฤตที่จะมาถึง ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงเผชิญแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินต้องดำเนินไปอย่างระมัดระวัง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กลับได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการผ่อนคลายนโยบายมากกว่า โดยเฉพาะการที่อัตราเงินเฟ้อในยุโรปมีแนวโน้มผ่อนคลายลงจนทดสอบระดับ 2% เนื่องจากผลกระทบจากนโยบายภาษีการค้าของสหรัฐฯ ที่ไม่รุนแรงเท่าที่เคยประมาณการก่อนหน้า ด้วยบริบทดังกล่าว ECB จึงมีอิสระในการลดดอกเบี้ยมากขึ้น โดยตลาดคาดว่าอาจมีการลดดอกเบี้ยอย่างน้อยอีก 1 ครั้งในปีนี้หลังทำการลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง 8 ครั้ง ตั้งแต่ ลดดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมพฤษภาคม 2024 ท่ามกลางการเน้นย้ำความยืดหยุ่นเชิงนโยบายจากประธาน ECB คริสตีน ลาการ์ด ยังมีข้อบ่งชี้จากขนาดงบดุลที่เคยขยายเพื่อทำนโยบายมาตรการเพิ่มสภาพคล่อง (APP) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงวิกฤต Covid-19 ซึ่งเป็นนโยบายคล้ายคลึงกับ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของทาง Fed ทั้งนี้พบว่า ทั้งสองธนาคารกลางพยายามปรับลดขนาดงบดุลให้เข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อลดภาระหนี้ของธนาคารกลาง หลังผ่านพ้นวิกฤตครั้งนั้นไป ทั้งนี้หากพิจารณาจาก Figure 3 สะท้อนภาพความแข็งแกร่งและความพร้อมใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ ของทาง ECB อย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันภาระหนี้ที่ปรับลดลงบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดตราสารหนี้ยุโรปอีกด้วย การมีเสถียรภาพของคุณภาพเครดิตของยุโรปสอดคล้องกับปัจจุบันที่บริษัทจัดอันดับของโลก Moody’s Fitch และ S&P Global Ratings ยังคงจัดอันดับเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และ สวีเดน อยู่ใน AAA ซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือมากสุด ในทางตรงกันข้ามที่อันดับเครดิตของสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันถูกปรับลดลงมา และทำให้สหรัฐฯ ไม่มีหน่วยงานจัดอันดับใดให้เครดิตระดับ AAA อีกต่อไป
ในภาวะที่ความเสี่ยงฝั่งสหรัฐฯ ยังสูงและทิศทางดอกเบี้ย Fed ถูกจำกัดตราสารหนี้ยุโรปกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระจายความเสี่ยงและตอบโจทย์การลงทุนที่ต้องการความมั่นคง เสถียรภาพ และมีโอกาสรับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ ตั้งแต่การเลือกตั้งสหรัฐฯ ปลายปี 2024 โดนัลด์ ทรัมป์กลับเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง ตลาดการเงินโลกได้เผชิญกับกระแสความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งในด้านนโยบายการคลัง การค้าระหว่างประเทศ และการจัดการหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เดือนเมษายน 2025 ที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มสะท้อนแรงขายจากภาวะ “Risk-off” ท่ามกลางความกังวลเรื่องนโยบายภาษีของรัฐบาลใหม่ และการปรับเพิ่มเพดานหนี้ภายใต้มาตรา One Beautiful Bill ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องเผชิญแรงกดดันจากภาระหนี้สาธารณะที่แตะระดับ 123.1% ต่อ GDP พร้อมความเสี่ยงที่อาจขยับสูงขึ้นอีกจากการใช้จ่ายขนาดใหญ่ในยุคทรัมป์ Moody’s จึงได้ปรับลดอันดับเครดิตของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หลุดจากระดับ AAA เป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตราสารหนี้สหรัฐฯ จนทำให้ Credit Spread” ของตราสารหนี้สหรัฐฯ ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ ตรงกันข้าม ยุโรปกลับแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางการคลังที่เหนือกว่า โดยข้อมูลไตรมาส 3 ปี 2024 ชี้ว่าหนี้สาธารณะของยูโรโซนอยู่ที่ 88.2% ต่อ GDP และในกรณีของเยอรมนีอยู่เพียง 62.4% ต่อ GDP เท่านั้น ทั้งนี้ เยอรมนียังเป็นผู้นำสำคัญในการผลักดันวินัยการคลังผ่านนโยบาย “Debt Brake” ซึ่งเอื้อให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการสนับสนุนด้านกลาโหมของประเทศสมาชิก NATO อย่างยั่งยืน ดังนั้นเราจึงได้เห็นการไหลออกของเงินทุนสู่ตลาดที่มีเสถียรภาพมากกว่า โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งยังได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ AAA จากหลายประเทศ เช่น เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนทั่วโลกเริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับการกระจายพอร์ตการลงทุนเข้าสู่ภูมิภาคยุโรป ในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ เช่น พันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ Investment Grade ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ได้ทั้งในมิติของผลตอบแทนและการลดความเสี่ยงจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากเกิดภาวะชะลอตัวในอนาคต LH Bank Advisory จึงแนะนำกองทุน LH Global Investment Grade Opportunity (LHGIGO) สำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสในตราสารหนี้ยุโรป ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการปรับพอร์ตเพื่อเพิ่มความมั่นคงและกระจายความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ จุดเด่นของกองทุน LHGIGO คือการลงทุนหลักในกองทุนต่างประเทศเพียงกองเดียว ได้แก่ Man Global Investment Grade Opportunities (I-USD) ซึ่งบริหารโดย Man Group หนึ่งในผู้จัดการกองทุนรายใหญ่ระดับโลก โดยมีจุดแข็งที่น่าสนใจ ดังนี้ : 1.ลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูงทั่วโลก (อันดับเครดิตเฉลี่ยตั้งแต่ BBB ขึ้นไป) ปัจจุบันลงทุนในยุโรปและสหราชอาณาจักร รวมสัดส่วนกว่า 67% และกลยุทธ์แบบ Unconstrained ซึ่งไม่ยึดติดกับดัชนีชี้วัด ช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถเลือกลงทุนในตราสารที่มีศักยภาพสูงได้อย่างยืดหยุ่น โดยกองทุนยังใช้การวิเคราะห์เชิงลึกแบบ Bottom-Up มุ่งค้นหาตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าความเสี่ยงด้านเครดิตที่แท้จริง (Credit Risk) พร้อมเปิดโอกาสลงทุนในผู้ออกตราสารขนาดกลางและเล็กที่มักถูกมองข้าม แต่มีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยง
Announcement on 07 July 2025