ลูกค้าบุคคล > ประกัน > ประกันวินาศภัย > ประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ > LH Bank ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เบสท์ไดรฟ์
ทำไมต้องซื้อประกันภัย
 
2-(4).jpg
LH09-ชั้น-1-เบสท์ไดร์ฟ-update-241066-(4).jpg
LH09-ชั้น-1-เบสท์ไดร์ฟ-ตรวจสอบรายชื่อ.jpgfooter-tip.png
4-(1).jpg
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทุกสาขา
โทร. 1327

 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 

คู่มือประกันภัยLH Bank ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เบสท์ไดรฟ์

ประกาศ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564

คำถามที่พบบ่อย
 
Q : ลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์ Motor Add On นี้ จำเป็นต้องมีประกันภัยรถยนต์ ด้วยหรือไม่ ?
A : ไม่จำเป็น รถยนต์ที่ไม่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ก็สามารถซื้อประกันภัยฉบับนี้ได้ แต่การที่ขายให้กับรถยนต์ที่มีประกันภัยด้วยจะทำให้พิจารณาสินไหมได้ง่ายขึ้น

Q : ใครบ้างที่สามารถทำประกันภัยฉบับนี้ได้ ?
A : ผู้เอาประกันภัยกรมธรรม์ Motor Add On จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับรถยนต์ กล่าวคือเป็นเจ้าของรถยนต์ ที่มีชื่อระบุไว้ในใบจดทะเบียนรถยนต์ หรือต้องมีชื่อเป็นผู้เอาประกันภัยในกรมธรรม์รถยนต์นั้น

Q : หมวดเงินชดเชยรายได้รายวันฯ คุ้มครองเฉพาะผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ขับขี่รถยนต์เท่านั้นใช่หรือไม่ ?
A : ไม่ใช่ หมวดนี้คุ้มครองทุกคนที่อยู่ในรถยนต์ ซึ่งได้ระบุหมายเลขทะเบียนไว้ในกรมธรรม์ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารก็ตาม และไม่ว่าผู้เอาประกันภัยอยู่ในรถยนต์คันที่เอาประกันภัย ที่เกิดอุบัติเหตุด้วยหรือไม่ก็ตาม

Q : ถ้าผู้ได้รับความคุ้มครองมีระยะเวลาการนอนเป็นผู้ป่วยในไม่เท่ากัน จะได้รับการชดเชยอย่างไร ?
A : ชดเชยตามจำนวนวันที่แต่ละคนนอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เช่น ถ้านาย A นอน 7 วันก็จ่าย 7 วัน แต่หากนาย B นอน 5 วันก็จ่ายเท่ากับ 5 วัน

Q : ถ้า ณ วันที่เกิดอุบัติเหตุนั้นรถยนต์คันเอาประกันภัย Motor Add On ไม่มีความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์อยู่ ผู้เอาประกันภัยยังจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ?
A : ได้รับความคุ้มครอง เพราะหมวดนี้ไม่จำเป็นต้องมีความคุ้มครองของกรมธรรม์รถยนต์ร่วมด้วยขณะที่เกิดความเสียหาย

Q : คุ้มครองการนอนรักษาในร.พ.สูงสุดกี่วัน และกี่ครั้งต่อปี ?
A : คุ้มครองสูงสุด 30 วันต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง และไม่จำกัดจำนวนครั้ง สำหรับอุบัติเหตุต่อปี (รวมการเข้าไปนอนหลายๆ ครั้งจากอุบัติเหตุเดียวกันทั้งหมด)

Q : จ่ายค่าทดแทนกรณีรถเข้าซ่อมตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงใช่หรือไม่ ?
A : ไม่ใช่ หมวดนี้จะจ่ายค่าทดแทนกรณีรถเข้าซ่อมเป็นเงินก้อนเหมาจ่าย เมื่อเกิดความเสียหายต่อรถยนต์คันที่ระบุหมายเลขทะเบียนไว้ชนกับยานพาหนะทางบก และมีความจำเป็นต้องนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าซ่อมแซมในอู่หรือ ศูนย์ซ่อมรถยนต์ โดยบริษัทจะอ้างอิงตามใบซ่อมและใบเคลม หรือใบแจ้งความบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐานการซ่อมรถ

Q : กรณีรถยนต์ถูกไฟไหม้ หรือคว่ำ หรือชนต้นไม้ หรือไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ?
A : ไม่คุ้มครอง เนื่องจากจะต้องเป็นการชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

Q : ถ้าใน 1 ปี เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้รถยนต์ต้องเข้าอู่มากกว่า 1 ครั้ง จะเรียกร้องเงินชดเชยได้ทุกครั้งหรือไม่ ?
A : ได้สูงสุด 3 ครั้งตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย

Q : ถ้าตลอดปีมีการชนทั้งแบบเป็นฝ่ายถูก (ไม่ประมาท) และฝ่ายผิด (ประมาท) จะสามารถเรียกร้องแบบถูก 3 ครั้ง และฝ่ายผิดได้อีก 3 ครั้งใช่หรือไม่ ?
A : ไม่ใช่ สามารถเรียกร้องในกรณีทั้งเป็นฝ่ายถูก และเป็นฝ่ายผิด (รวมประมาทร่วม ชนแล้วหนี หรือไม่ทราบผลการพิสูจน์) รวมกันทั้งหมดแล้วได้สูงสุด 3 ครั้งตลอดปี

Q : ถ้ารถยนต์ต้องเข้าอู่จากเครื่องยนต์ขัดข้อง โดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองหมวดเงินชดเชยค่าเดินทางหรือไม่ ?
A : ไม่คุ้มครอง เนื่องจากสาเหตุการเข้าอู่ต้องมาจากอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับรถคันอื่น (ยานพาหนะทางบก) เท่านั้น

Q : หากรถยนต์ที่ทำประกันชนกับรถอีกคันหนึ่ง สามารถระบุทะเบียนคู่กรณีได้ แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูก (ไม่ได้ประมาท) จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ?
A : คุ้มครอง กรณีนี้จะถือว่าเป็นฝ่ายผิด และได้รับค่าทดแทนตามแผนประกันภัยที่ลูกค้าเลือกซื้อ (แผน B)

Q : ถ้าในขณะที่เกิดอุบัติเหตุกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจหมดอายุไปแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ?
A : คุ้มครอง เนื่องจากกรมธรรม์นี้ไม่เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

Q : ถ้าค่าซ่อมรถยนต์ในอู่ที่เกิดขึ้นนั้น มีกรมธรรม์รถยนต์คุ้มครองอยู่แล้ว ผู้เอาประกันภัยยังจะได้รับความคุ้มครองในหมวดนี้อีกหรือไม่ ?
A : คุ้มครองตามปกติ แม้ว่าจะมีกรมธรรม์อื่นคุ้มครองอยู่ด้วยก็ตาม

Q : ถ้ารถยนต์เสียเนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้องโดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น และจำเป็นต้องยก/ลากรถ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองภายใต้หมวดนี้หรือไม่ ?
A : ได้รับความคุ้มครอง

Q : กรณีผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นผู้ขับขี่เอง สามารถใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินได้หรือไม่ ?
A : สามารถใช้บริการได้ โดยการเรียกใช้บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน บริษัทจะให้บริการรถยนต์คันที่ระบุทะเบียนรถไว้ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น
 
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง